เชื้อราแมว หรือ Microsporum canis คือเชื้อราที่ทำให้แมวเป็นโรคผิวหนัง แมวที่ติดเชื้อจะมีขนหลุดออกมาเป็นหย่อม ๆ ผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุย ๆ และมีการตกสะเก็ดร่วมด้วย ซึ่งผู้ที่ชอบสัมผัสกับแมวโดยไม่ทำความสะอาดหลังจากสัมผัสมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดูว่า เชื้อราแมว เกิดจากอะไรและมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
สาเหตุการเกิด เชื้อราแมว
- สาเหตุหลักของเชื้อราแมว หรือสัตว์เลี้ยง จะเกิดจากความชื้นสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำแล้วไม่เป่าขนให้แห้งสนิท หรือการที่เจ้าของปล่อยสัตว์เลี้ยงออกไปเดินหรือเล่น บนพื้นที่มีความชื้น โดยไม่ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงสม่ำเสมอ ก็ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การติด เชื้อราแมวตกสะเก็ด ในสัตว์เลี้ยง อาจมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เช่น สุขภาพของแมวหรือสัตว์เลี้ยง หากเป็นแมวเด็ก หรือแก่มาก ๆ รวมถึงแมวที่มีปัญหา สุขภาพ จะมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ก็จะมีความเสี่ยงติดได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
อาการเชื้อราแมว
- เชื้อราแมวตกสะเก็ด จะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ลักษณะเป็นวง มีขุยรอบๆ ค่อย ๆ ขยายเป็นวงกว้าง
- มีอาการคัน
- หากเกาแล้วไปสัมผัสผิวหนังส่วนอื่น ก็จะทำให้ติดเชื้อราเพิ่มได้อีก
- หากติดเชื้อราแมว ที่ศีรษะ จะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม
- แมวขนร่วงเยอะ
- แมวคันตามตัว
การป้องกันเชื้อราแมว
- ล้างมือ และอวัยวะต่าง ๆ ที่สัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ให้สะอาด
- เชื้อราแมวรักษา คือทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ที่มีการสัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ
- นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ไปทำความสะอาด โดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ป้องกันเชื้อรา และเป่าขนให้แห้ง หลังจากทำความสะอาดเป็นประจำ
- นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อราเป็นประจำ
- ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส และใกล้ชิดแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ตลอดเวลา เช่น การนำแมวไปนอนบนเตียงด้วย เป็นต้น
- หากพบว่าแมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มีความผิดปกติ ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์
เชื้อราในสัตว์เลี้ยงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่?
- เชื้อราในสัตว์เลี้ยงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสหรือการใช้ของบางอย่างร่วมกัน เช่น การใส่เสื้อผ้าร่วมกัน แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับการติดต่อจากสัตว์ ที่เป็นการติดต่อแบบข้ามสายพันธุ์
วิธีรักษาเชื้อราแมวในผู้ป่วย
- สำหรับที่ผิวหนัง ให้ทายาฆ่าเชื้อราที่ได้รับจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยอาการต่าง ๆ จะดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ และหากพบผื่นจำนวนมาก แพทย์อาจให้รับประทานยาต้านเชื้อราควบคู่กับการทายาฆ่าเชื้อราไปด้วย
- สำหรับการติดเชื้อบนหนังศีรษะ ควรรับประทานยาต้านเชื้อราตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องการใช้ยาทาหรือแชมพูฆ่าเชื้อราเพียงอย่างเดียวอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่เพียงพอ